วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เนบิวลา Nebula

เนบิวลา Nebula

บิวลา เป็นกลุ่มเมฆหมอกของฝุ่น แก๊ส และพลาสมาในอวกาศ เดิมคำว่า "เนบิวลา" เป็นชื่อสามัญ ใช้เรียกวัตถุทางดาราศาสตร์ที่เป็นปื้นบนท้องฟ้าซึ่งรวมถึงดาราจักรที่อยู่ห่างไกลออกไปจากทางช้างเผือก
ประเภทของเนบิวลา เเบ่งตามการส่องสว่างได้

เนบิวลาสว่าง

เนบิวลาสว่าง (Diffuse nebula) เป็นเนบิวลาที่มีลักษณะฟุ้ง มีแสงสว่างในตัวเอง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เนบิวลา แสงสว่าง

เนบิวลาเปล่งแสง


เนบิวลาเปล่งแสง (Emission nebula) เนบิวลาเปล่งแสงเป็นเนบิวลาที่มีแสงสว่างในตัวเอง เกิดจากการเรืองแสงของอะตอมของไฮโดรเจนที่อยู่ในสถานะไอออน ในบริเวณ H II region เนื่องจากได้รับความร้อนจากดาวฤกษ์ภายในเนบิวลา ซึ่งโดยทั่วไปแล้วก็คือดาวฤกษ์เกิดใหม่ที่เนบิวลานั้นสร้างขึ้นนั่นเอง การเรืองแสงนั้น เกิดขึ้นเนื่องจากอิเล็กตรอนอิสระกลับเข้าไปจับกับไอออนของไฮโดรเจน และคายพลังงานออกมาในช่วงคลื่นที่ต่างๆ โดยค่าความยาวคลื่น เป็นไปตามสมการ E=hc/λ เมื่อ E เป็นพลังงานที่อะตอมของไฮโดรเจนคายออกมา h เป็นค่าคงตัวของพลังค์ c เป็นความเร็วแสง และ λ เป็นความยาวคลื่น
เนื่องจากเนบิวลาเปล่งแสง จะเปล่งแสงในช่วงคลื่นที่เฉพาะตัวตามธาตุองค์ประกอบของเนบิวลา ทำให้มีสีต่างๆกัน และการวิเคราะห์สเปกตรัมของเนบิวลาชนิดนี้ จะพบว่าสเปกตรัมเป็นชนิดเส้นเปล่งแสง (Emission Lines) และสามารถวิเคราะห์ธาตุองค์ประกอบ หรือโมเลกุลที่เป็นส่วนประกอบของเนบิวลาได้อีกด้วย เนบิวลาชนิดนี้ ส่วนใหญ่จะมีสีแดงจากไฮโดรเจน และสีเขียวจากออกซิเจน บางครั้งอาจมีสีอื่นซึ่งเกิดจากอะตอม หรือโมเลกุลอื่นๆ ก็เป็นได้ ตัวอย่างเนบิวลาเปล่งแสงได้แก่ เนบิวลาสว่างใหญ่ในกลุ่มดาวนายพราน (M42 Orion Nebula) เนบิวลาอเมริกาเหนือในกลุ่มดาวหงส์ (NGC7000 North America Nebula) เนบิวลาทะเลสาบในกลุ่มดาวคนยิงธนู (M8 Lagoon Nebula) เนบิวลากระดูกงูเรือ (Eta-Carinae Nebula) เป็นต้น
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เนบิวลา เปล่งแสง

เนบิวลาสะท้อนแสง

เนบิวลาสะท้อนแสง (Reflection nebula) เนบิวลาสะท้อนแสงเป็นเนบิวลาที่มีแสงสว่างเช่นเดียวกับเนบิวลาเปล่งแสง แต่แสงจากเนบิวลาชนิดนี้นั้น เกิดจากการกระเจิงแสงจากดาวฤกษ์ใกล้เคียงที่ไม่ร้อนมากพอที่จะทำให้เนบิวลานั้นเปล่งแสง กระบวนการดังกล่าวทำให้เนบิวลาชนิดนี้มีสีฟ้า องค์ประกอบหลักของเนบิวลาชนิดนี้ที่ทำหน้าที่กระเจิงแสงจากดาวฤกษ์คือฝุ่นระหว่างดาว (Interstellar dust) การกระเจิงแสงของฝุ่นระหว่างดาวเป็นกระบวนการเดียวกับการกระเจิงแสงของฝุ่นในบรรยากาศซึ่งทำให้ท้องฟ้ามีสีฟ้า ตัวอย่างเนบิวลาสะท้อนแสง เช่น เนบิวลาในกระจุกดาวลูกไก่บริเวณดาวเมโรเป เนบิวลาหัวแม่มด (Witch Head Nebula) เนบิวลา M78 ในกลุ่มดาวนายพราน เป็นต้น เนบิวลาชนิดนี้บางครั้งก็พบอยู่เป็นส่วนหนึ่งของเนบิวลาเปล่งแสง เช่น เนบิวลาสามแฉก (Trifid Nebula) ที่มีทั้งสีแดงจากไฮโดรเจน สีเขียวจากออกซิเจน และสีฟ้าจากการสะท้อนแสง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เนบิวลา สะท้อนแสง

เนบิวลาดาวเคราะห์


เนบิวลาดาวเคราะห์ ( Planetary nebula) เนบิวลาดาวเคราะห์เป็นส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการในช่วงสุดท้ายของดาวฤกษ์มวลน้อย และดาวฤกษ์มวลปานกลาง เมื่อมันเข้าสู่ช่วงสุดท้ายของชีวิต ไฮโดรเจนในแกนกลางหมดลง ส่งผลให้ปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ภายในแกนกลางยุติลงด้วย ทำให้ดาวฤกษ์เสียสมดุลระหว่างแรงดันออกจากความร้อนกับแรงโน้มถ่วง ทำให้แกนกลางของดาวยุบตัวลงเข้าหาศูนย์กลางเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของตัวมันเอง จนกระทั่งหยุดเนื่องจากแรงดันดีเจนเนอเรซีของอิเล็กตรอน กลายเป็นดาวแคระขาว เปลือกภายนอกและเนื้อสารของดาวจะหลุดออก และขยายตัวไปในอวกาศ เป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ซึ่งไม่มีพลังงานอยู่ แต่มันสว่างขึ้นได้เนื่องจากได้รับพลังงานจากดาวแคระขาวที่อยู่ภายใน เมื่อเวลาผ่านไปดาวแคระขาวก็จะเย็นตัวลง และเนบิวลาดาวเคราะห์ก็จะขยายตัวไปเรื่อยๆ จนกระทั่งจางหายไปในอวกาศ
เนบิวลาดาวเคราะห์ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดกับดาวเคราะห์ ชื่อนี้ได้มาจากลักษณะที่เป็นวงกลมขนาดเล็กคล้ายดาวเคราะห์เมื่อสังเกตจากกล้องโทรทรรศน์นั่นเอง ตัวอย่างของเนบิวลาชนิดนี้ได้แก่ เนบิวลาวงแหวน ในกลุ่มดาวพิณ (M57 Ring Nebula) เนบิวลาดัมเบลล์ (M27 Dumbbell Nebula) เนบิวลาตาแมว (Cat’s eye Nebula) เนบิวลาเกลียว (Helix Nebula)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เนบิวลา ดาวเคราะห์

เนบิวลามืด

เนบิวลามืด ( Dark nebula) เนบิวลามืดมีองค์ประกอบหลักเป็นฝุ่นหนาเช่นเดียวกับเนบิวลาสะท้อนแสง แต่เนบิวลามืดนี้ไม่มีแหล่งกำเนิดแสงอยู่ภายในหรือโดยรอบ ทำให้ไม่มีแสงสว่าง เราจะสามารถสังเกตเห็นเนบิวลามืดได้เมื่อมีเนบิวลาสว่าง หรือดาวฤกษ์จำนวนมากเป็นฉากหลัง จะปรากฏเนบิวลามืดขึ้นเป็นเงามืดด้านหน้าดาวฤกษ์หรือเนบิวลาสว่างเหล่านั้น ตัวอย่างเนบิวลามืดที่มีฉากหลังเป็นเนบิวลาสว่าง เช่น เนบิวนารูปหัวม้าอันโด่งดังในกลุ่มดาวนายพราน (Horse Head Nebula) เป็นต้น และตัวอย่างของเนบิวลามืดที่มีฉากหลังเป็นดาวฤกษ์จำนวนมาก เช่น เนบิวลางู (B72 Snake Nebula) เป็นต้น
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เนบิวลามืด

หลุมดำ Black Hole

หลุมดำ (Black Hole)

หลุมดำ (อังกฤษ: black hole) หมายถึงเทหวัตถุในเอกภพที่มีแรงโน้มถ่วงสูงมาก ไม่มีอะไรออกจากบริเวณนี้ได้แม้แต่แสง เราจึงมองไม่เห็นใจกลางของหลุมดำ หลุมดำจะมีพื้นที่หนึ่งที่เป็นขอบเขตของตัวเองเรียกว่าขอบฟ้าเหตุการณ์ ที่ตำแหน่งรัศมีชวาร์สชิลด์ ถ้าหากวัตถุหลุดเข้าไปในขอบฟ้าเหตุการณ์ วัตถุจะต้องเร่งความเร็วให้มากกว่าความเร็วแสงจึงจะหลุดออกจากขอบฟ้าเหตุการณ์ได้ แต่เป็นไปไม่ได้ที่วัตถุใดจะมีความเร็วมากกว่าแสง วัตถุนั้นจึงไม่สามารถออกมาได้อีกต่อไป
เมื่อดาวฤกษ์ที่มีมวลมหึมาแตกดับลง มันอาจจะทิ้งสิ่งที่ดำมืดที่สุด ทว่ามีอำนาจทำลายล้างสูงสุดไว้เบื้องหลัง นักดาราศาสตร์เรียกสิ่งนี้ว่า "หลุมดำ" เราไม่สามารถมองเห็นหลุมดำด้วยกล้องโทรทรรศน์ใดๆ เนื่องจากหลุมดำไม่เปล่งแสงหรือรังสีใดเลย แต่สามารถตรวจพบได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์วิทยุ และคลื่นโน้มถ่วงของหลุ่มดำ (ในเชิงทฤษฎี โครงการ แอลไอจีโอ) และจนถึงปัจจุบันได้ค้นพบหลุมดำในจักรวาลแล้วอย่างน้อย 6 แห่ง

หลุมดำเป็นซากที่สิ้นสลายของดาวฤกษ์ที่ถึงอายุขัยแล้ว สสารที่เคยประกอบกันเป็นดาวนั้นได้ถูกอัดตัวด้วยแรงดึงดูดของตนเองจนเหลือเป็นเพียงมวลหนาแน่นที่มีขนาดเล็กยิ่งกว่านิวเคลียสของอะตอมเดียว ซึ่งเรียกว่า เอกภาวะ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หลุมดำ

หลุมดำแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ หลุมดำมวลยวดยิ่ง เป็นหลุมดำในใจกลางของดาราจักร, หลุมดำขนาดกลาง, หลุมดำจากดาวฤกษ์ ซึ่งเกิดจากการแตกดับของดาวฤกษ์, และ หลุมดำจิ๋วหรือหลุมดำเชิงควอนตัม ซึ่งเกิดขึ้นในยุคเริ่มแรกของเอกภพ
แนวคิดของวัตถุที่มีแรงดึงดูดมากพอที่จะกันไม่ให้แสงเดินทางออกไปนั้นถูกเสนอโดยนักดาราศาสตร์มือสมัครเล่นชาวอังกฤษ จอห์น มิเชล ในปี 1783 และต่อมาในปี 1795 นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส ปีแยร์-ซีมง ลาปลาส ก็ได้ข้อสรุปเดียวกัน  ตามความเข้าใจล่าสุด หลุมดำถูกอธิบายโดยทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ซึ่งทำนายว่าเมื่อมีมวลขนาดใหญ่มากในพื้นที่ขนาดเล็ก เส้นทางในพื้นที่ว่างนั้นจะถูกทำให้บิดเบี้ยวไปจนถึงศูนย์กลางของปริมาตร เพื่อไม่ให้วัตถุหรือรังสีใดๆ สามารถออกมาได้

ขณะที่ทฤษฏีสัมพัทธภาพทั่วไปอธิบายว่าหลุมดำเป็นพื้นที่ว่างที่มีความเป็นเอกภาวะที่จุดศูนย์กลางและที่ขอบฟ้าเหตุการณ์บริเวณขอบ คำอธิบายนี่เปลี่ยนไปเมื่อค้นพบกลศาสตร์ควอนตัม การค้นคว้าในหัวข้อนี้แสดงให้เห็นว่านอกจากหลุมดำจะดึงวัตถุไว้ตลอดกาล แล้วยังมีการค่อย ๆ ปลดปล่อยพลังงานภายใน เรียกว่า รังสีฮอว์คิง และอาจสิ้นสุดลงในที่สุด  อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีคำอธิบายเกี่ยวกับหลุมดำที่ถูกต้องตามทฤษฎีควอนตัม

หลุมดำระดับดวงดาว เกิดจากการดับของดาวที่มีมวลตั้งแต่ 18 เท่าดวงอาทิตย์ขึ้นไปครับ ซึ่งถ้าไอ้ดาวที่หนักขนาดนี้ดับลงเนี่ยต่อให้ทำลายตัวเองแบบซูเปอร์โนว่า ยังเหลือมวลมากดตัวเองเป็นแบล็กโฮลสบายๆ ก่อนจะเป็นโนวา ดาวยักษ์จะยุบตัวด้วยความเร็วใกล้ๆแสงครับวิธีการตรวจจับแบล็กโฮลในปัจจุบัน ใช้การตรวจจับรังสีเอ็กซ์ และการหาคลื่นรังสีที่พุ่งออกมาจากพึ้นที่ใกล้ขอบฟ้าเหตุการ์ณ จากการหมุนรอบตัวเองเป็นหลัก

เมื่อเราลองนำความรู้เเละทฤษฏีมาตอบโจทย์เกี่ยวกับหลุมดำที่มีคนสงสัยมากที่สุด
1.หลุมดำมีขอบเขตหรือไม่?
ทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับในปัจจุบัน อธิบายว่า หลุมดำนั้นก็มีขอบเขตของตัวเองเหมือนกัน เราเรียกขอบเขตนั้นว่า ขอบฟ้าเหตุการณ์ (Event Horizon)
2. สิ่งที่ถูกดูดเข้าไปในหลุมดำจะไปอยู่ที่ไหน?
ในภาพยนตร์วิทยาศาสตร์อาจชอบนำเสนอว่า เมื่อเราถูกหลุมดำดูดเข้าไปเราอาจจะไปโผล่ในอีกมิติหนึ่งซึ่งเป็นมิติคู่ขนาน แต่ในเมื่อเราเชื่อว่าหลุมดำมีขอบเขตตามข้อแรก ดังนั้นสสารที่ถูกดูดเข้าไปจึงไปโผล่ที่ไหนไม่ได้นอกจากไปกองอยู่ก้นหลุม ตามทฤษฎีอธิบายไว้ว่า ในหลุมดำนั้นตรงกลางจะมีจุดหนึ่งเป็นจุด ซิงกูลาริตี้ ซึ่งมวลทั้งหมดจะไปรวมกันเป็นจุดเดียว อะไรก็ตามที่หลุดเข้าไป ก็จะไปรวมกันอยู่ตรงจุดนี้

3. สิ่งที่ถูกดูดเข้าไปในหลุมดำมีโอกาสรอดออกมาได้หรือไม่?
เนื่องจากหลุมดำมีแรงดึงดูดสูงมาก แม้แต่แสงก็ยังไม่สามารถหลุดรอดออกมาได้ จึงสันนิษฐานกันว่า หากมีสสารหลุดลงไปในหลุมดำ และต้องการจะออกมา สสารนั้นจะต้องเร่งความเร็วให้มากกว่าแสงจึง(อาจจะ)หลุดรอดออกมาได้  ซึ่งในความเป็นจริงยังไม่มีสสารใดที่เร่งความเร็วได้มากกว่าแสง จึงน่าจะสรุปได้ว่า เราไม่สามารถออกจากหลุมดำได้เลย

4. สิ่งที่หลุดเข้าไปในหลุมดำ จะหายไปตลอดกาลหรือไม่?
ตามที่กล่าวมาแล้ว หลุมดำนั้นมีแรงโน้มถ่วงสูง และดูดทุกสิ่งเข้าไปรวมกันที่จุดซิงกูลาริตี้ (สสารน่าจะถูกบีบอัดรวมกัน) และไม่น่าจะกลับมาได้อีก

สสารมืด Dark Matter

สสารมืด ( Dark matter)

หนึ่งในความลึกลับของจักรวาลซึ่งนักวิทยาศาสตร์เพียรพยายามหาหลักฐาน มายืนยันว่ามันมีอยู่จริงมานานหลายทศวรรษ ได้ถูกค้นพบแล้วจากการชนกันของกระจุกกาแล็กซีขนาดใหญ่
การค้นพบของซวิคกี้

       สสารมืดคืออะไร สสารมืดคือสสารในจักรวาลที่เรามองไม่เห็นแต่รู้ว่ามีอยู่

       เพราะอิทธิพลจากแรงโน้มถ่วงของมันต่อสสารปกติในกาแล็กซี่

       สสารปกติจะถูกตรวจจับได้จากการแผ่พลังงานออกมา ตัวอย่างเช่น เมื่อนักวิทยาศาสตร์ส่องกล้องโทรทรรศน์ไปในอวกาศ เทหวัตถุในอวกาศจะปลดปล่อยหรือแผ่พลังงานแสงที่เรียกว่ารังสีแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Radiation) ซึ่งมีหลายชนิดตามความยาวคลื่นที่แตกต่างกัน ได้แก่คลื่นวิทยุ รังสีอินฟราเรด แสงที่สายตามนุษย์มองเห็น รังสีอัลตราไวโอเล็ต รังสีเอ็กซ์ และรังสีแกมม่า

       เนบิวลา กาแล็กซี ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ต้นไม้ หรือแม้กระทั่งจุลชีพเล็กๆ จะถูกตรวจจับได้จากรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดใดชนิดหนึ่งที่แผ่ออกมา ทว่าสสารมืดจะไม่แผ่พลังงานเพียงพอที่จะตรวจจับได้โดยตรง

       นักวิทยาศาสตร์รู้ว่าในจักรวาลมีสสารมืดตั้งแต่ปี 1933 เมื่อ ฟริตซ์ ซวิคกี้ นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ของสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย ศึกษากระจุกกาแล็กซีโคมา โดยวัดมวลทั้งหมดของกระจุกกาแล็กซีนี้บนพื้นฐานการศึกษาการเคลื่อนที่ของกาแล็กซีบริเวณขอบของกระจุกกาแล็กซี

 แต่เขาต้องประหลาดใจเมื่อพบว่า กระจุกกาแล็กซีโคมาจะต้องมีมวลมากกว่าที่วัดได้ราว 400 เท่า จึงจะทำให้กาแล็กซีเคลื่อนที่ได้เร็วขนาดนั้น หรืออีกนัยหนึ่งแรงโน้มถ่วงจากสสารที่มองเห็นไม่สามารถทำให้กาแล็กซีเคลื่อนที่ได้เร็วขนาดนั้นได้

      การค้นพบของซวิคกี้เป็นที่มาของสิ่งที่เรียกว่า "ปัญหามวลที่หายไป" ซึ่งซวิคกี้สรุปว่า ต้องมีสสารที่มองไม่เห็นซึ่งมีมวลและแรงโน้มถ่วงมากพอที่จะดึงดูดให้กาแล็กซีอยู่รวมกันเป็นกระจุกได้

แล้วยังมีการงัดวิธีการต่างๆนาๆออกมาเพื่อหาสิ่งที่ไม่เคยเห็นตัวตนนี้
-ปฏิบัติการค้นหาทางอากาศสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) มีการติดตั้งเครื่องมือที่เรียกว่า เครื่องตรวจวัดอัลฟาแมกเนติกสเปกโทรมิเตอร์ สามารถตรวจจับอนุภาคจากรังสีคอสมิกแล้ววัดพลังงานและประจุของมันได้ ผู้ที่อยู่เบื้องหลังการทดลองเกี่ยวกับเครื่องตรวจวัดนี้ได้เคยตีพิมพ์ผลการ ทดลองบางอย่างซึ่งบ่งชี้ว่าบางครั้งก็เกิดการชนกันของอนุภาคบางอย่างที่ก่อ ให้เกิดโพซิตรอนและอิเล็กตรอน และอนุภาคนั้นอาจเป็น WIMPs ซึ่งหากเป็นจริงมันก็อาจช่วยยืนยันได้ว่าสสารมืดในรูปของ WIMPs นั้นกระจายอยู่ทั่วเอกภพ แต่ทั้งนี้ยังสรุปไม่ได้ต้องมีการตรวจวัดอีกมาก

-ปฏิบัติการค้นหาด้วยเครื่องเร่งอนุภาค ศูนย์วิจัยอนุภาคนานาชาติอย่างเซิร์น (CERN) ที่เพิ่งค้นพบฮิกส์โบซอนไปก็ไม่พลาดการแข่งขันในครั้งนี้อย่างแน่นอน โดยพยายามใช้วิธีเดียวกับการค้นพบฮิกส์ฯ นั่นคือการใช้เครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี (LHC) เร่งโปรตอนจนมีความเร็วสูงมากๆและทำให้เกิดการชนกัน ซึ่งในการชนกันของโปรตอนจะเกิดอนุภาคอื่นๆมากมาย ส่วนมากจะเป็นอนุภาคที่เรารู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่นานๆครั้งเราก็จะพบอนุภาคที่หายากหรือสิ่งที่เราไม่รู้จัก พวกเขาหวังว่าจะมีโอกาสพบ WIMPs แม้ว่ามันจะทำปฏิกิริยากับสสารปกติน้อยมากก็ตาม ในเรื่องนี้ดูเหมือนเซิร์นก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ

- ปฏิบัติการค้นหาใต้ดิน เนื่องจาก WIMPs ต่างจากอนุภาคอื่นตรงที่มันทะลุได้แทบทุกอย่างและจะไม่ช้าลงเมื่อผ่านชั้น หินหรือสสารธรรมดาๆ ส่วนมากจึงนิยมตั้งห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจจับมันกันใต้ดิน เพื่อป้องกันอนุภาคอื่นๆที่ไม่ใช่สสารมืดมารบกวนให้เกิดความผิดพลาดสับสนเช่น ที่เทือกเขากรันซัสโซของอิตาลี มีการสร้างห้องปฏิบัติการพิเศษลึกลงไปใต้ผิวดิน 1,400 เมตร เครื่องตรวจจับเป็นกล่องเหล็กทรงกลมขนาดใหญ่ที่มีน้ำล้อมรอบ ภายในบรรจุอาร์กอนเหลวและก๊าซอาร์กอน พวกเขาตั้งความหวังว่าอนุภาคของสสารมืดสักตัวหนึ่งอาจจะชนกับอะตอมของ อาร์กอน และเครื่องตรวจวัดแสงจะตรวจจับแสงวาบที่เกิดจากการชนได้ แต่การทดลองนี้ยังไม่เคยประสบผลสำเร็จ อเมริกาก็มีห้องปฏิบัติการทำนองนี้อยู่ใต้ดินหลายแห่ง ส่วนมากจะสร้างไว้ใต้เหมืองร้าง

ถ้าหากพบเเล้วจะทำให้หลายๆอย่างเกิดขึ้น เช่น
1. ถ้าเราสามารถไขปริศนาเรื่องสสารมืดได้ เราจะรู้จักเอกภพมากขึ้นถึงร้อยละ 25 ซึ่งก็ถือว่ามากกว่าที่เรารู้อยู่ตอนนี้มากเลย
2.สสารมืดจะบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการกำเนิดจักรวาล เราสามารถบอกได้ว่าอะไรเกิดก่อนเกิดหลัง
3. เราจะมีแบบจำลองมาตรฐานของอนุภาคมูลฐานที่สมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งน่าจะใช้เป็นเครื่องมือในการทำนายและไขความลับของจักรวาลได้มากมายทีเดียว